เซียนท้อ

เซียนท้อ (หรือละมุดอินเดีย)

ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกหลากหลายมาก “ละมุดอินเดีย” ,  “ละมุดเขมร”,  “ม่อนไข่”, “เซียนท้อ หรือเซียมท้อ” , “หมากป่วน”, “หม่าปิน” เป็นต้น

เซียนท้อ

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ผลยืนต้น เป็นพุ่มแจ้ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ต้นที่พบมีความสูงประมาณ 5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 เซนติเมตร ลำต้นค่อนข้างตรง และแตกแขนงสาขาที่ระยะประมาณ 7-8 เมตร เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบ เดี่ยวรูปหอกกว้างประมาณ 7-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 18-38 เซนติเมตร ก้านใบด้านบนสีเขียวเข้มส่วนด้านล่างมีสีเขียวอ่อน มีรูปทรงค่อนข้างกลม โดยมีความกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ ส่วนปลายผลนั้นเกือบแหลมคล้ายผลของมะพร้าวขั้วของผลมีขนาดใหญ่ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร การติดผลมีตั้งแต่ผลเดี่ยวถึงเป็นช่อ การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ปลูกง่ายอยู่ใกล้น้ำผลจะใหญ่ แต่ถ้าลูกมากเกินผลจะเล็กลง

รสชาติของผล เนื้อในของผลมีสีเหลือง รสมันอมหวานเล็กน้อย เนื้อเหลืองเนียนเหมือนฟักทอง ต้องกินตอนสุกๆ หากไม่สุกจะมีรสฝาด

ประโยชน์ คุณค่าทางอาหาร
มีวิตามิน เอ มีไนอะซิน (กลุ่มวิตามินบี บำรุง ผิว ได้ สมองได้ ปลายประสาทได้) และเบต้าแคโรทีน มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุง ทั้งสายตา และสมอง
มีวิตามินซีที่ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

เซียนท้อ

เป็นต้นไม้ที่นำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานแล้ว แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ชาวจีนนำไปปลูกที่บ้านเมืองเขาเรียกว่า เซียมท้อ แถวประเทศลาวก็มีเยอะ ทางเชียงใหม่เรียก หมากเปิ่น หรือ หม่าปิน คนภาคกลางเรียกอีกชื่อว่า ละมุดเขมร  แถวภาคเหนือขายกันกิโลกรัมละประมาณ 80 – 120 บาท ทางอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ก็ปลูกกันเยอะ และคนจีนนิยมนำมาไหว้เจ้า แทนลูกท้อเมืองจีนที่มีราคาแพงกว่า

เซียนท้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Spread the love

Search

About

Lorem Ipsum has been the industrys standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown prmontserrat took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

Lorem Ipsum has been the industrys standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown prmontserrat took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged.

Gallery